จาก สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย
วิธีแก้ปัญหาวัชพืชดื้อยาที่ง่ายที่สุด คือ สลับกลไกการเข้าทำลายของสารกำจัดวัชพืช
คำถาม "สลับยังไง.."
คำตอบ " ไม่ใช้สารในกลุ่มเดิม ติดต่อกันเกิน 3 ฤดู"
คำถาม "กลไกลการเข้าทำลายที่ใช้นาข้าว มีกี่กลุ่ม"
คำตอบ "10 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม A, B ,C, E, F, K, L, N, O และ Z"
คำถาม "ยาคุม (ใช้ก่อนวัชพืชงอก) มีกลุ่มไหนบ้าง
คำตอบ " กลุ่ม E, K, N"
คำถาม "สารในแต่ละกลุ่ม กำจัดวัชพืชอะไรได้บ้าง"
คำตอบ " ดูใน info graphic ที่สมาคมฯ จัดทำขึ้น โดยใช้หมายเลข 1-11 เป็นตัวแทนชนิดวัชพืช (ตามภาพ)
ให้ดูภาพวัชพืชที่เป็นปัญหาในนาข้าว ว่าตรงกับหมายเลขอะไร เช่น
หญ้าดอกขาว (หญ้าลิเก) คือ เลข 1
หญ้าข้าวนก (หญ้าพุ่มพวง) คือ เลข 2
หญ้าเดือย (หญ้ากระดูกไก่) คือ เลข 3
ข้าววัชพืช (ข้าวหาง ข้าวดีด) คือ เลข 4
ให้ไปดูในสารแต่ละกลุ่มว่า มีเลขอะไรระบุไว้บ้าง เช่น กลุ่ม A มีกลไกยับยั้งเอนไซม์ ACCase มีหมายเลขระบุไว้ คือ 1 2 3 4 แสดงว่า กำจัดได้ทั้งหญ้าข้าวนก หญ้าดอกขาว หญ้าเดือย และ ข้าววัชพืช ซึ่งทั้งหมดจัดเป็นวัชพืชประเภทใบแคบ
คำถาม "ถ้ามีหญ้าข้าวนกและมีวัชพืชใบกว้างตัวอื่นด้วย...ใช้กลุ่มAกำจัดใชกว้างไม่ได้ .จะใช้สารกลุ่มไหนดี"
คำตอบ " ดูในภาพว่าวัชพืชใบกว้างคือหมายเลขอะไร เช่น มีผักปอดนา หมายเลข 6 หญ้าข้าวนก หมายเลข 2
เราก็มองหา เลข 2 และ 6 ว่าอยู่กลุ่มไหน และชื่อสารอะไร ก็เลือกสารตัวนั้นไปใช้"
นี่เป็นตัวอย่างวิธีใช้ ตารางกลุ่มสารกำจัดวัชพืชในนาข้าว
แต่อย่าชะล่าใจว่า มีสารตั้ง 10 กลุ่มให้เลือกใช้นะคะ..หากไม่ใช้อย่างถูกวิธี วัชพืชจะดื้อยาต่อสารทั้ง 10 กลุ่ม
เมื่อถึงตอนนี้น..คงต้องใช้ "ยาตรามือ"