การบินโดรน ไม่ว่าจะเป็น โดรนถ่ายภาพมุมสูง หรือ โดรนเพื่อการเกษตร หรือแม้กระทั้ง โดรนของเล่นสำหรับมือใหม่ นั้น หลายๆคนอาจจะยังไม่เคยรู้ว่าการนำมาใช้งาน จำเป็นจะต้องขออนุญาต และ ต้องลงทะเบียนกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในประเทศก่อน ไม่ใช่ว่าจะใช้งานได้เลยในทันทีที่ซื้อมา ข้อกำหนดในการใช้โดรนให้ถูกกฏหมายนั้นเป็นไปตามหัวข้อดังนี้ครับ
1. ต้องขึ้นทะเบียนโดรน และ ขึ้นทะเบียนนักบินโดรน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
👉 ผู้ครอบครองโดรนจำเป็นจะต้องขึ้นทะเบียนโดรนกับ 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ทั้ง 2 ที่นะครับ ไม่ใช่ที่ใดที่หนึ่ง) ได้แก่ กรมการบินพลเรือน (ผู้ดูแลการจราจรบนท้องฟ้าของประเทศไทย) และ กสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ผู้ดูแลการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งโดรนของเราใช้คลื่นความถี่วิทยุนั้นๆในการบังคับ รับ ส่ง สัญญานนั่นเอง)
2. ประเภทของโดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ ที่ต้องขึ้นทะเบียน
👉โดรนที่ต้องนำไปขึ้นทะเบียนนั้นมีรายละเอียดดังนี้
- โดรนน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม และ ไม่มีกล้อง ไม่ต้องขึ้นทะเบียน 😊
- โดรนมีกล้องต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี 📷
- โดรนที่มีน้ำหนัก 2-25 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียน ⚖️
- ส่วนโดรนที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 25 กิโลกรัมขึ้นไปจะต้องได้รับอนุญาตจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นรายกรณี 🇹🇭
โดยที่ ใบอนุญาตผู้บังคับโดรนที่ออกให้โดยกรมการบินพลเรือน มีอายุ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ และ จะแจ้งผลการพิจรณาภายใน 15 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่เอกสารครบถ้วน
3. คุณสมบัติของผู้บังคับโดรน (ผู้ปล่อยอากาศยานไร้คนขับ)
👉 ผู้ที่ต้องการขึ้นทะเบียนโดรน จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติต่างๆตามที่กำหนดด้วย ส่วนโดรนที่ต้องขึ้นทะเบียนนั้น ก็จะมีข้อจำกัดตามนี้
- ผู้ใช้โดรนที่มีกล้องต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี หรือมิเช่นนั้นต้องมีผู้แทน / ผู้ปกครอง ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดเป็นผู้ดูแล
- ไม่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อความั่นคงของประเทศ
- ไม่เคยได้รับโทษจำคุก จากคดียาเสพติด หรือ คดีศุลกากร
4. ข้อกำหนดในการบินโดรน
👉 สุดท้าย (แต่ไม่ท้ายสุด) ผู้บินโดรนจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้ง 9 ข้ออย่างเคร่งครัด ถ้าต้องการใช้งานนอกเหนือจากข้อกำหนดทั้ง 9 ข้อนี้ ผู้บินโดรนจำเป็นต้องขออนุญาตผ่านหน่วยงานที่ลงทะเบียนเพื่อขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษเป็นรายกรณีไป
- ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ก่อนทำการบิน
- ห้ามทำการบินที่ก่อให้เกิดอันตราย
- ห้ามทำการบินในบริเวณเขตหวงห้าม (สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่ได้รับการอนุญาต)
- ผู้บังคับจะต้องมองเห็นตัวโดรนตลอดเวลาในขณะที่ทำการบิน และ ห้าม! ทำการบังคับโดรนโดยอาศัยชุดกล้องบนอากาศยานหรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง
- ต้องทำการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
- ห้ามบินโดรนในระยะ 9 กิโลเมตร (5 ไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยานเว้นแต่ได้รับอนุญาต
- ห้ามทำการบินโดยใช้ความสูงเกิน 90 เมตร (300 ฟุต) เหนือพื้นดิน
- ห้ามบังคับโดรนเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน
- ขณะทำการบินต้องมีระยะห่างแนวราบห่างจาก บุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง อาคาร มากกว่า 30 เมตร (100 ฟุต)
KRCSHOP หวังว่าข้อมูลต่างๆนี้จะช่วยให้ความรู้กับนักบินโดรนทุกคน ให้เข้าใจข้อกำหนด และ ข้อบังคับ ใครที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน จะมีโทษปรับสูงสุด 1 แสนบาท และ จำคุกนานสูงสุด 1 ปี ซึ่งเป็นโทษที่หนักเอาเรื่องนะครับ
ดังนั้นการขึ้นทะเบียนโดรนและนักบินจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ โดยค่าบริการขึ้นทะเบียนจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 3,000 บาท ประกอบไปด้วย
- กรมธรรม์ประกันภัยโดรนประเภท 3 ทุนประกันคุ้มครองบุคคลที่ 3 ทุนประกัน 1 ล้านบาท
- ค่าบริการยื่นขอขึ้นทะเบียนผู้ปล่อยอากาศยานกับ กรมการบินพลเรือน
- ค่าบริการยื่นขอขึ้นทะเบียนโดรนกับ กสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
คลิ๊ก 👉🏻 https://bit.ly/2BpI1NC
คลิ๊ก 👉🏻 https://bit.ly/2BpI1NC
คลิ๊ก 👉🏻 https://bit.ly/2BpI1NC
KRCSHOP | DJI Dealer & GADGETS Store
👉🏻 ผู้เชี่ยวชาญ โดรน และ แกดเจ็ต 10 ปี ! มีบริการหลังการขาย ศูนย์ซ่อมอะไหล่แท้
#ขึ้นทะเบียนโดรน #บินโดรนถูกกฎหมาย #ใบอนุญาตโดรน #ขึ้นทะเบียนผู้บังคับปล่อยโดรน